ยินดีต้อนรับค่ะ

ยินดีต้อนรับค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

****ในสัปดาห์นี้อาจารย์พูดถึงเกี่ยวกับเรื่อง เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ LD ในหัวข้อต่อไปนี้ ****


 LD เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

              เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป

สาเหตุ

     - การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
      -กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
      -สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู

ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD

      -มีความบกพร่องทางการพูด
      -มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
      -มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
      -มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
      -การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
      -มีความบกพร่องทางการรับรู้
      -มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
      -มีอารมณ์ไม่คงที
      -โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
      -มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
      -มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
      -เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ

      -มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน  

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

  *** วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเคลียงานที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมส่งงานวิจัยของแต่ละคนที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ให้ และอาจารย์ได้ให้นักศึกษามาพบคุยเรื่องการสอบ  โดยทุกคนตกลงกันว่าจะนำข้อสอบกลับไปทำ  โดยอาจารย์ได้นัดส่งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557





วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ก็ได้สอนในเรื่องของ เด็กดาวน์ซินโดม และเด็กออทิสติก ในหัวข้อดังต่อไปนี้

      1. ด้านสุขภาพอนามัย
 
      2.การส่งเสริมพัฒนาการ
 
      3.การดำรงชีวิตประจำวัน
 
      4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
 

การส่งเสริมพัฒนาการ

     -พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
     -สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
     -สังคมยอมรับมากขึ้นไปเรียนร่วมมือเรียนรวมได้
     -ลดปัญหาพฤติกรรม
     -คุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

Autistic ออทิสติก (ตัวอันตราย/คล้ายๆกับเด็กสมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่งอยู่ไม่สุข )

    -ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว/สำคัญที่สุด
   -ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก

    ส่งเสริมความสามารถเด็ก

         -การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
         -ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

    การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม

         -เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
         -การให้การเสริมแรง ดีก็ชม

    การฝึกพูด (ได้รับจากนักบำบัดการพูด)

        -โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
        -ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
       - ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
       - ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว
        -การสื่อความหมายทดแทน (AAc)

   การสื่อความหมายทดแทน

        -การรับรู้ผ่านการมองเห็น
        -โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร PECS

   การส่งเสริมพัฒนาการ

       - ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
       - เน้นในเรื่องการมองหน้าการสบสายตาการมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
        -ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู้กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม

  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา

        -เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
       - แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
        -โรงเรียนเรียนรวม ห้องเรียนคู่ขนาน

  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม ( ต่ำ )

        -ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะสังคม
        -ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
  
การรักษาด้วยยา

        -เพื่อบรรเทาอาการไม่ใช่รักษาให้หาย

  การบำบัดทางเลือก

        -การสื่อความหมายทดแทน
        -ศิลปะกรรมบำบัด
        -ดนตรีบำบัด
        -การฝังเข็ม
        -การบำบัดด้วยสัตว์

  พ่อ แม่

        -ลูกต้องพัฒนาได้
        -เรารักลุกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
       -ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก
        -หยุดไม่ได้ต้องสู้
        -ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
        -ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส

        -ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


*****สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบเก็บคะแนนกลางภาค*****







วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

วันอังคาร ที่ 21 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนองานที่ได้รับมอบหมายไว้ต่อจากสัปดาห์ก่อน โดยมีกลุ่มเพื่อนๆที่นำเสนอดังนี้

กลุ่มที่ 4 เด็กออทิสติก

สาเหตุ

1.       เด็กมีสายพันธุกรรมที่ไม่แข็งแรงเพียงพอ
2.       เด็กมีภาวะอารมณ์อ่อนไหวต่อสิ่งที่เข้ามากระทบง่ายกว่าปกติ
3.       เด็กได้รับยาและสารเคมีเข้าสู่สมอง
4.       เด็กขาดสายใยรัก และ ความเข้าใจจากพ่อแม่

*สาเหตุที่ 2 และ 3 จะเกิดในช่วงที่เด็กอยู่ในครรภ์จนถึงขวบปีแรก


อาการ

-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ใครปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
-ต่อต้าน หรือแสดงกิริยา อารมณ์รุนแรงและไร้เหตุผล
-มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก


รูปภาพเพื่อนที่ออกไปนำเสนอ  กลุ่มที่ 4 เด็กออทิสติก




กลุ่มที่ 5  เด็กดาวน์ซินโดม

สาเหตุ

สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 800 ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ

1. Trisomy 21 ความผิดปกติชนิด Trisomy 21   พบได้ร้อยละ 95 ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ มีสาเหตุมาจาก nondisjunction ซึ่งประมาณร้อยละ 90 พบว่าเกิดจาก nondisjunction ในกระบวนการ meiosis I ของมารดา แม้ว่าโรคนี้จะเกิดได้กับมารดาในทุกช่วงอายุ แต่โอกาสเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของมารดา สาเหตุการเกิดคาดว่าอาจเกิดจาก ovum ของมารดาที่มีอายุมากมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด nondisjunction ได้สูง ไม่พบว่าอายุของบิดาที่มากขึ้นเกี่ยวข้องกับอุบัติการของโรคนี้ โอกาสเสี่ยงในการเกิดซ้ำในกรณีที่มีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์แล้ว 1 คน ในมารดาที่อายุน้อยโอกาสเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคซ้ำประมาณร้อยละ 1 และในมารดาที่อายุมากโอกาสเสี่ยงจะเท่ากับร้อยละ 1 บวก maternal age risk ซึ่งโอกาสเสี่ยงดังกล่าวจะสูงกว่าประชากรทั่วไปเนื่องจากอาจมีสาเหตุมาจาก gonadal mosaicism ได้ เนื่องจากบิดา มารดาของผู้ป่วยมักจะมีโครโมโซมปกติดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องตรวจโครโมโซมของบิดา มารดา


2. Translocation ความผิดปกติชนิด translocation พบได้ประมาณร้อยละ 4 ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ แต่คิดเป็นร้อยละ 9 ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ ที่เกิดจากมารดาที่อายุน้อยกว่า 30 ปี เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่เกินมาไปเชื่อมติดกับโครโมโซมชนิดที่เป็น acrocentric chromosome เรียกว่า Robersonian translocation ที่พบบ่อยได้แก่ translocation ของโครโมโซมคู่ที่ 14 กับคู่ที่ 21 รองลงมาคือคู่ที่ 21 กับคู่ที่ 22, 13 และ 15 ตามลำดับ ส่วนชนิดที่พบได้น้อยที่สุดคือคู่ที่ 21 กับคู่ที่ 21 พบว่าครึ่งหนึ่งของความผิดปกติชนิด translocation เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (de novo) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดาหรือมารดาที่เป็นพาหะ (balanced translocation carrier) ลักษณะอาการทางคลินิกจะไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเด็กกลุ่มอาการดาวน์ที่มีสาเหตุจาก Trisomy 21 กับชนิดที่เกิดจาก translocation อายุของมารดาไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดในกรณีนี้ อัตราเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำขึ้นอยู่กับว่าโครโมโซมของบิดาหรือมารดาผิดปกติด้วยหรือไม่ ในกรณีที่บิดาและมารดามีผลโครโมโซมที่ปกติโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์เท่ากับร้อยละ 1 แต่ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะ โอกาสเสี่ยงขึ้นอยู่กับว่าความผิดปกตินั้นได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดาหรือมารดา ในทางทฤษฎีจะพบความผิดปกติของ translocation ได้ 4 แบบคือ Down syndrome, ปกติ, balanced translocation carrier และ monosomy 21 แต่เนื่องจาก monosomy 21 จะไม่มีชีวิตรอด ดังนั้นโอกาสที่จะพบว่าเป็น Down syndrome เท่ากับ 1 ใน 3 แต่จริง ๆ แล้วอุบัติการที่พบว่าลูกเป็น Down syndrome จะต่ำกว่านี้มาก ขึ้นอยู่กับว่าบิดาหรือมารดา เป็นพาหะของโรค ซึ่งอัตราเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำของโรคในกรณีนี้จะใช้ empirical risk (เป็นค่าที่ได้จากการศึกษาในประชากร) ในการบอกถึงโอกาสเกิดซ้ำ ถ้ามารดาเป็นพาหะโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์เท่ากับร้อยละ 10-15 แต่ถ้าบิดาเป็นพาหะโอกาสเสี่ยงจะเท่ากับร้อยละ 1-2 แต่ถ้าบิดาหรือมารดาเป็นพาหะชนิด 21/21 โอกาสเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการดาวน์เท่ากับร้อยละ 100 เพราะฉะนั้นถ้าตรวจพบว่าเด็กกลุ่มอาการดาวน์เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมชนิด translocation ต้องตรวจโครโมโซมของบิดา มารดาทุกราย


3. Mosaicism ความผิดปกติชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 1 ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ โดยพบว่ามีเซลล์ที่ปกติปนกับเซลล์ชนิด trisomy 21 สาเหตุการเกิดมักเป็นผลจากการที่ normal zygote มีการแบ่งตัวแล้วเกิด mitotic nondisjunction ขึ้นทำให้เกิด trisomy 21 cell line ขึ้นมาหรือเกิดจาก trisomy 21 zygote แบ่งตัวแล้วเกิด mitotic nondisjunction ทำให้เกิด normal cell line ขึ้นมา การตรวจหา trisomic cells จาก peripheral blood lymphocyte โดยทั่วไปจะพบต่ำกว่าใน skin fibroblast culture ในคน ๆ เดียวกัน ลักษณะความผิดปกติภายนอก ระดับสติปัญญาและพัฒนาการโดยทั่วไปมักจะดีกว่าในรายที่เป็น full trisomy แต่อย่างไรก็ตามเด็กกลุ่มอาการดาวน์ที่มีสาเหตุจาก mosaicism จะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันตั้งแต่ typical Down syndrome ไปจนถึง very subtle dysmorphic features การคาดเดาความรุนแรงจากสัดส่วนของเซลล์ที่ผิดปกติ อาจจะไม่ถูกต้อง แต่โดยทั่วไปอาจคาดได้ว่าถ้าพบเซลล์ที่ผิดปกติน้อย พยากรณ์ของโรคอาจจะดีกว่าในรายที่พบสัดส่วนของเซลล์ที่ผิดปกติมาก อัตราเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำในบุตรคนถัดไปเหมือนกับกลุ่มอาการดาวน์ชนิด trisomy 21

           สาเหตุบางสาเหตุเกิดจากสภาพการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้หญิงจำนวนมากแต่งงานช้า และตั้งครรภ์อายุมากขึ้น เป็นสาเหตหนึ่งที่ทำให้เด็กในครรภ์และเด็กที่คลอดออกมา มีความเสี่ยงกับการเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะโรคดาวน์ซินโดรม หรือโรคพิการทางสมอง พบว่า ในแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ลูกจะมีโอกาสผิดปกติ 1 ใน 1,000 อายุ 35 ปี ขึ้นไป จะมีโอกาสผิดปกติ 1 ใน 300 อายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสผิดปกติ 1 ใน 100 และหากอยุ 45 ปีขึ้นไปโอกาสผิดปกติ 1 ใน 30 สาเหตุหนึ่งมาจากความผิดปกติของไข่ที่จะเสื่อมสภาพตามอายุ


อาการ

1.ลักษณะทั่วไปเด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันคือศีรษะเล็ก หน้าแบนสันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้นหูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้น

2.ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ ในบางราบอาจมีข้อกระดูกเคลื่อน จึงจำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกเจริญเติบโตช้า ทำให้ตัวเล็กเตี้ย สันจมูกแบน ช่องปากเล็ก หูชั้นกลางอักเสบได้ง่าย มีความผิดปกติของกระดูกหูชั้นกลาง และชั้นใน ทำให้บางรายมีความบกพร่องทางการได้ยิน

3.ระบบผิวหนัง มีความยืดหยุ่นน้อย มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งแตกง่าย มีรอยจ้ำเป็นลาย และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสมีน้อย ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยให้เลือดมาเลี้ยงดีขึ้น

4.ระบบทางเดินอาหาร บางรายมีการอุดตันของลำไส้ และ/หรือ ไม่มีรูทวารตั้งแต่แรกเกิด บางรายอาจอาเจียนจนถึงอายุ 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารไม่แข็งแรง เด็กส่วนมากมีปัญหาเร่องท้องอืด และท้องผูกได้ง่าย

 5.ระบบหัวใจ และหลอดเลือด บางรายอาจมีโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดร่วมด้วย และมะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้บ้าง

6.ระบบประสาท สมองมีขนาดเล็ก ทำให้มีการรับรู้ ความเข้าใจช้า สติปัญญาต่ำกว่าเด็กทั่วไปอาจมีปัญหาทางตา เช่น ตาเข สายตาสั้น ปัญหาการได้ยิน มีประสาทรับความรู้สึกต่างๆน้อยกว่าปกติ

7.ระบบหายใจ ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ และขับเสมหะไม่ดี

8.ระบบสืบพันธ์ อวัยวะเพศของผู้ชายอาจจะเล็กกว่าปกติ

9.ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และสมอง (Growth Hormone ,Thyroid Hormone ) อาจมีน้อยกว่าปกติ

10.ลักษณะนิสัย และอารมณ์ วัยเด็กจะเชื่องช้า เมื่อโตขึ้นร่าเริงแจ่มใส การเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิด 5 ปี จะมีผลต่อพฤติกรรมการปรับตัว และอารมณ์ของเด็กในทางที่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน


รูปภาพเพื่อนที่ออกไปนำเสนอ  กลุ่มที่ 5  เด็กดาวน์ซินโดม


**** เสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้บอกแนวข้อสอบเพื่อที่จะสอบเก็บคะแนนในสัปดาห์ต่อไป *****