ยินดีต้อนรับค่ะ

ยินดีต้อนรับค่ะ

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคาร ที่ 26 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

****  อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ****

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้ (กลุ่มนี้น่ากลัว)
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมของตนเองไม่ได้
-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

แบ่งได้ 2 ประเภท

1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์

2.เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้


เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ

-วิตกกังวล
-หนีสังคม
-ก้าวร้าว

การจะวัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้

-สภาพแวดล้อม
-ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

 ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก

-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
-รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
-มีความคับข้องใจและมีความเก็บกดอารมณ์
-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
-มีความหวาดกลัว

  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก

-เด็กสมาธิสั้น
-เด็กออทิสติก


 เด็กสมาธิสั้น

-เรียกย่อๆว่า ADHD
-เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
-เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่นขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์จะเรียกว่า AttenrionDeficit Disorders (ADD)


 ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

-อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
-ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
-ดูดน้ำ กัดเล็บ
-หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
-เรียกร้องความสนใจ
-อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
-ขี้อิจฉาริษยา
-ฝันกลางวัน
-พูดเพ้อเจ้อ


เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ * เหมือนเด็กปกติทุกอย่างไม่บกพร่องเลย

-เรียกย่อๆว่า L.D (Learning Disability)
-เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
-เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหา เพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
 

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

-มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
-ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
-มีปัญหาด้านการอ่านเขียน
-ไม่รู้จักซ้ายขวา
-ซุ่มซ่าม
-รับลูกบอลไม่ได้
-ติดกระดุมไม่ได้
-เอาแต่ใจตนเอง


เด็กออทิสติก ( Autistic) *รับมือยากมากรุนแรงสุดๆ

-หรือออทิซึ่ง ( Autism)
-เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรมสังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
-เด็กออทิสติกแต่จะคุยไม่รู้เรื่องจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวเล็กไปตลอดชีวิต
- ทักษะทางภาษา ต่ำ
- ทักษะทางสังคม ต่ำ
- ทักษะการเคลื่อนไหว สูง
- ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดพื้นที่ สูง


 ลักษณะเด็กออทิสติก *โลกส่วนตัวสูงมาก

-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ใครปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
-ต่อต้าน หรือแสดงกิริยา อารมณ์รุนแรงและไร้เหตุผล
-มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
-ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีที่ต่างจากคนทั่วไป


เด็กพิการซ้อน

-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่างเป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด



** แล้วอาจารย์ก็ได้ให้ดู VDO ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษพร้อมสรุปเป็นมายแม็ปส่งในคาบ**

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคาร ที่ 19 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


วันนี้อาจารย์ได้สอนต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว ในเรื่องของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่ายกาย  ลักษณะของอาการ   ของโรคต่างๆ  คือ ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี   กล้ามเนื้ออ่อนแรง  โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ  โปลิโอ  แขนขาด้วนแต่กำเนิด  โรคกระดูกอ่อน   และก็เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายที่มักจะพบบ่อย  เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หมายถึง บุคคลที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวอวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป  กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ  เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง  มีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาในสภาพปกติและต้องอาศัยการฝึกฝน  การใช้เครื่องมือ  วัสดุ  อุปกรณ์หรือต้องการเครื่องอำนวยความสะดวกเข้าช่วย

ลักษณะอาการ

อาการที่บกพร่องทางร่างกาย  ที่มักพบบ่อย ได้แก่

                1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ

-อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
-อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
-อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
-อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
-อัมพาตแบบผสม (Mixed)

                2.กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย              

3.โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด    ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง  กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

              4.โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว             

5.แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก         
     
6.โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง


 ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่

  1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้

1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)


     - เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึก ในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
   - การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit Mal)
     - มีอาการ ชักชั่วระยะสั้นๆ5-10 วินาที
     - เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงัก ในท่าก่อนชัก

     - เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย

1.2 การชักในช่วงสั้นๆ(Petit Mal)

1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)


     - เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราวๆ 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และ นอนหลับไปชั่วครู่

1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)


     - เกิดอาการเป็นระยะๆ
     - กัดริมฝีปาก ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา

     - บางคนอาจเกิดความโกรธ หรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก

1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)


     - เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก

2.โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม   
         
3.โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน
          
 4.โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ            

5.โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ     
       
6.โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด



  ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

     -มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
     -ท่าเดินคล้ายกรรไกร
     -เดินขากะเผลก หรือ อึดอาดเชื่องช้า
     -ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
     -มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
     -หน้าแดงง่าย  มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปาก หรือ ปลายนิ้ว
     -หกล้มบ่อยๆ

     -หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ


 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
                   

                       เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น  การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด

  1.ความผิดปกติด้านการออกเสียง

     -ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
     -เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
     -เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด  เป็นฟาด

  2.ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง

  3.ความผิดปกติด้านเสียง

     -ระดับเสียง
     -ความดัง
     -คุณภาพของเสียง

  4.ความผิดปกติทางการพูด และภาษาอันเนื่องมาจาก พยาธิ สภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า (Dysphasia หรือ aphasia) มีดังนี้

    4.1 Motor aphasia

       -เด็กที่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก
       -พูดช้าๆพอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
       -พูดไม่ถูกไวยากรณ์

    4.2 Wernicke 's apasia

       -เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่งได้ยินแต่ไม่เข้าใจ ความหมาย
       -ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆ หรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน

    4.3 Conduction aphasia

       -เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตาม หรือ บอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา

    4.4 Nominal aphasia

       -เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตุไม่ได้เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำ มักเกิด ร่วมไปกับ Gerstmann's syndrome
    
4.5 Global aphasia

       -เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน
       -พูดไม่ได้เลย

    4.6 Sensory agraphia

       -เด็กที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถาม หรือ เขียนชื่อวัตถุ ก็ ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
    
4.7 Motor agraphia

      -เด็กที่ลอกตัวเขียน หรือ ตัวพิมพ์ ไม่ได้
       -เขียนตามคำบอกไมได้

    4.8 Cortical alexia

       -เด็กที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา

    4.9 Motor alexia

       -เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้

    4.10 Gerstmann's syndrome

       -ไม่รู้ชื่อนิ้ว (Finger agnosia)
       -ไม่รู้ชี้ซ้ายขวา (Allochiria)
       -คำนวณไม่ได้ (Acalculia)
       -เขียนไม่ได้ (Agraphia)
       -อ่านไม่ออก(Alexia)

    4.11 Visual agnosia

       -เด็กที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้

    4.12 Auditory agnosia

       - เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แต่แปลความหมายของคำ หรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ


  ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา

     -ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
     -ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10เดือน
     -ไม่พูดภายในอายุ 2ขวบ
     -หลัง 3 ขวบ แล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
     -ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
     -หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถาศึกษา
     -มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก

     -ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย